เรื่องของเกลียว
เรื่องของเกลียว เกลียวสามเหลี่ยม

เนื่องจากเกลียวเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จึงมีการออกแบบออกมาเพื่อจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้

1.เกลียวสามเหลี่ยม เป้นเกลียวที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรุปสามเหลี่ยมมีทั้งเกลียวที่เป็นระบบ อังกฤษ เราพบเจอในชีวิตประจำวันมากที่สุด แถมยังแบ่งออกเป็นอีกหลายมาตรฐาน ดังนี้

 

มาตรฐานเกลียว

เกลียวเมตริก หรือเกลียวมิลที่เราเรียกกัน ซึ้งยังแบ่งเป็น เกลียว IOS อีก เกลียวเมตริกธรรมดาคือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60องศา แตกต่างจากเกลียวเมตริก ISO ตรงสุตรการคำนวณบางค่าแตกต่างกันเช่น สูตรหาค่าความลึก เรื่องนี้ปล่อยให้วิศวกรเขาคิดไปเถอะตอนนี้เรารู้ว่าเกลียวเมตริกมี 2 แบบไปก่อน

เกลียววิตเวร์ต คือเกลียวระบบอังกฤษที่คิดค้นขึ้นโดย Mr.Joseph Whitworth เป็นชาวอังกฤษ เป็นเกลียวที่มีมุมมนโค้งทั้งยอดเกลียวและโคนเกลียว นิยมใช้งาน ติดตั้งประปาและสุขภัณฑ์มีมุมยอดเกลียว 55องศาเป็นเกลียวเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วการใช้สัญลักษณ์จะบอกด้วยความยาวเส้นผ่าศุนย์กลาง โตนอกของเกลียวเป็นนิ้วและตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและอักษรตัวย่อดังต่อไปนี้

- BSW =(British Standard Whitworth) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ตชนิดหยาบ

- BSF = (British Standard Fine) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ตชนิดละเอียด

เกลียวอเมริกัน คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้วเป็นเกลียววิตเวอร์ตแต่มีรูปร่างแตกต่างกันตรงมีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาบอกเป็นจำนวน เกลียวต่อนิ้วสัญลักษณ์ในการบอกจะขึ้นด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์โตนอกมีหน่วยเป็นนิ้วตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและตามด้วยอักษรตัวย่อดังต่อไป

- NC (National Coarse Thread Series) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดเกลียดหยาบ

- NF (National Fine Thread Series) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดเกลียวละเอียด

- NEF (National Extra Fine Thread Series) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดพิเศษที่ผลิตมาใช้งานเฉพาะอย่างมีจำนวนเกลียวต่อนิ้วที่แตกต่าง จากสองชนิดแรกเมื่อเทียบกับขนาดของเกลียวที่โตเท่ากัน

 

เรื่องของเกลียวสี่เหลี่ยม

เกลียวสี่เหลี่ยม เป้นเกลียวที่มีมุม 90 องศา และมีความแข็งแรงเหมาสำหรับงานที่ต้องการกำลังส่งมากๆ เช่น เกลียวของปากกาจับงาน เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริก คือมุมที่มีมุมรวมยอดเกลียว 30 องศา เป็นเกลียวที่เหมาะสำหรับการส่งกำลังขับเคลื่อนเพราะมีความแข็งแรง กว่าเกลียวสามเหลี่ยมเช่นเกลียวปากกาจับงานและเกลียวเพลานำของเครื่องกลึง

เกลียวสี่เหลี่ยมคสงหมูอเมริกัน คือเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเหมือนเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริกมุมยอดเกลียว 29 องศา ลักษณะการใช้งาน เหมือนกับเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริกมีการกำหนดขนาดเป็นนิ้วและบอกจำนวนเกลียวต่อนิ้วแทนระยะพิตน์ดังนั้นในการคำนวณถ้าต้องการหน่วยเป็นมิลิเมตร จะต้องคูณด้วย 25.4 มม จึงจะมีหน่วยเป็นมิลิเมตร

 

เรื่องของเกลียว

เกลียวฟันเลื่อย-เกลียวกลม

เกลียวฟันเลื่อย เหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ต้องการความปลอดภัยเคลื่อนที่ได้สะดวกในทิศทางเดียวอีกทางจะเคลื่อนที่ลงยากเป็นการป้องกันการรูดของเกลียว เหมาะสำหรับใช้ทำอุปกรณ์แม่แรงยกรถหรือของหนักเพราะปลอดภัยกว่าเกลียดชนิดอื่นๆมีมุมรวมยอดเกลียว 30+3 องศารวม 33 องศา

เกลียวกลม คือเกลียวที่มีมุมรวม 30 องศายอดเกลียวและโคนเกลียวโค้งมนเป็นเกลียวในระบบอังกฤษมีการบอกจำนวนเกลียวต่อนิ้วเหมาะสำหรับงาน ที่ต้องการเคลื่อนที่ได้สะดวกเช่นเกลียวที่ขวดน้ำอัดลม เกลียวหลอดไฟฟ้า เป็นต้น

ข้อมูลพื้นฐานสกรู

สกรู-น็อต ชิ้นส่วนเล็กๆที่สำคัญยิ่ง เราจะเห็นอยุ่ทั่วไปหมดในความเป็นจริง สกรู-น็อต อยู่ในสินค้าประเภท สลักภัณฑ์ ดังนั้นกลุ่มสินค้าประเภทนี้ยิ่งครอบจักรววาลไปใหญ่ เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้ของสองชิ้นขึ้นไปมายึดติดกันในรูปแบบต่างๆ แน่นบ้าง หลวมบ้างตามแต่จะออกแบบเพื่อการใช้งาน คงต้องเริ่มจาก สกรู(Screw) หรือที่เรียกว่า น็อตตัวผู้เป็นแท่งเหล็กทรงกระบอกหรือทรงกรวยมีเกลียวอยู่รอบ ปลายด้านหนึ่งมีหัวใจในลลักษณะต่างๆ เช่น หัวหกเหลี่ยม หัวจม หัวจมเตเปรอร์ หัวแฉก หววติดแหวนหัวกลม หรือ หัวผ่าร่องเป็นต้น

 

ข้อมูลพื้นฐานปลายเกลียว

รูปร่างของส่วนปลายอีกด้านก็จะมีลักษณะต่างๆ เช่น ปลายเกลียวปกติ ปลายเกลียวปล่อย และปลายสว่าน เอาแค่เรื่องสกรูอย่างเดียว ก็มีหลายประเภทแล้ว ดังนั้นเวลาจะเรียนต้องระบุ รูปแบบ ประเภท ขนาด เกรด ให้ชัดเจน

ข้อมูลพื้นฐานหัวน็อต

ส่วนน็อต (NUT) จะหมายถึงน็อตตัวเมีย ซึ่งบางท่านจะเรียกว่าหัวน็อตซึ่งมีลาณะคล้ายแหวนมีรูตรงกลาง ภายในจะมีร่องเป็นเกลียวเพื่อที่จะสามารถหมุนเข้ากับสกรูได้ หัวน็อตมีหลายประเภท เช่น หัวน็อตหกเหลี่ยม หัวน็อตติดจาน หัวน็อตกลม เพราะฉะนั้นถ้าจะเรียกว่าน็อตเฉยๆแล้วไม่ระบุอะไรเพิ่มเติม ก็จะเป็นอันเข้าใจได้ว่าต้องการหัวน็อตหกเหลี่ยม แต่แท้จริงแล้วหัวน็อตนั้นมีรูปร่างหลากหลาย ซึ้งการใช้งานก็จะหลากหลายไปตามรูปแบบ ตามรูปร่างของมันด้วย เช่น หัวน็อตหกเหลี่ยม หัวน็อตติดจาน หัวน็อตหางปลา หัวน็อตล้อค (ซึ้งยังแยกเป็นสปริงกับไนล่อน)และยังมีอีกหลายประเภท

 

ข้อมูลพื้นฐานสิ่งที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรูน็อต

สิ่งสำคัญเบื้องต้นที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรูน้อตมีดังนี้

- วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้าเกรดต่างๆ สแตนเลสเกรดต่างๆ ทองเหลือง ไททาเนียม เป็นต้น เราต้องรู้ก่อนว่าคุณสมบัติของวัสดุที่เลือกมาใช้ก่อนกับงานของเราหรือไม่ เพราะวัสดุแต่ละประเภทจะมีความแข็งและความยืดหยุ่น ต่างกัน

- รูปร่างของส่วนหัว ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท เช่นหัวหกเหลี่ยม หัวจม หัวจมเตเปอร์ หัวแฉก หัวติดแหวน หัวกลม หรือหัวผ่าร่อง

- รูปร่างของส่วนปลาย เช่น ปลายเกลียวปกติ ปลายเกลียวปล่อย และปลายสว่าน

- ขนาดความโต ความยาว และเกลียวที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นเกลียวนิล และเกลียวหุน

- ขนาดสกรูประกอบด้วย ความโต ระยะเกลียว ความยาวของลำตัว

- ขนาดหัวน้อตประกอบด้วย ความโต ระยะเกลียว

ข้อมูลพื้นฐานสิ่งที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรูน็อต

- มาตรฐานสกรู และมาตรฐานหัวน็อตที่ใช้กันในประเทศไทยนั้น มีหลากหลายมาตรฐานโดยอ้างอิงมาจากหลายประเทศ เช่น มาตรฐาน ASTM และ ANSI จากอเมริกา JIS จากญี่ปุ่น DIN จากเยอรมัน ISO จากยุโรป AS/NZS จากออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ และ มอก จากไทย ซึ่งหากเป็นงานที่มีรุปแบบชัดเจน ทางวิศวกรออกแบบ จะเป็นผู้คำนวณและระบุชนิด ขนาด ตลอดจนมาตรฐานของสกรูและน็อต ที่ต้องใช้กับงานนั้นๆไว้อย่างละเอียด เช่น งานโครงสร้างอาคาร งานประกอบชิ้นส่วน อุตสาหกรรม เป็นต้น

- เกรดซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ค่าความแข็ง ค่าแรงดึง

- เกรดสกรู 5.6 5.8 6.8 8.8 10.9 12.9

- เกรดหัวน็อต 4 5 6 8 9 10 12

 

 

ข้อมูลพื้นฐานการวัดขนาดสกรู- น็อต

การวัดขนาดสกรู-น็อต

เข้าใจว่าหลายท่านอาจจะสับสนระหว่างการวัดขนาดของสกรูน็อตกับการหาอุปกรณ์ขันน็อตการวัดค่าสกรูน็อตสิ่งที่ต้องนึกถึงเป็นอย่างแรกเลยก้คือเกลียว เพราะลำพังเกลียวเองก็มีหลายแบบ ออกแบบตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

ลักษณะของเกลียว มี 2 แบบคือ

1. เกลียวทรงกระบอก

2. เกลียวเรียว ลักษณะทรงกรวย

ชนิดของเกลียวก็มี 2 แบบคือ

1.เกลียวนอก คือเกลียวที่อยู่ด้านนอกของวัสดุ เช่นสกรูสตัส

2.เกลียวใน คือเกลียวที่ฝังอยู่ในวัสดุ เช่น น็อตตัวเมีย

 

ข้อมุลพื้นฐานการวัดขนาดสกรุ-น็อต

ส่วนประกอบที่สำคัญที่ควรู้ในที่นี่ คือ

1.ระยะพิตช์ คือความห่างระหว่างยอดเกลียวที่อยู่ติดกัน

2.เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด

3.มุมของเกลียว

4.ทิศทางการเคลื่อนที่ของเกลียว คือ เกลียวซ้ายและ เกลียวขวา โดยเกลียวขวาคือเกลียวที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน

ตารางเทียบเกลียว

เกลียวหุน

A4
 
ตารางเทียบ เกลียวหุน
ขนาด
เกลียว
NC (หยาบ) NC (ละเอียด) BSW
3/16"
24
-
24
1/4"
20
28
20
5/16"
18
24
18
3/8"
16
24
16
7/16"
14
20
14
1/2"
13
20
12**
9.16"
12
18
12
5/8"
11
18
11
3/4"
10
16
10
1"
8
12
8
1.1/8"
7
12
7
1.14"
7
12
7
1.12"
6
-
6
1.3/4"
5
-
5
2"
4.5
-
4.5
**ตัวเลขในตาราง คือ จำนวนฟันเกลียว ต่อความยาวเกลียวหนึ่งนิ้ว