ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสกรูน็อต

ข้อมูลพื้นฐานสกรู

สกรู-น็อต ชิ้นส่วนเล็กๆที่สำคัญยิ่ง เราจะเห็นอยู่ทั่วไปหมดในความเป็นจริง สกรู-น็อต อยุ่ในสินค้าประเภท สลักภัณฑ์

ดังนั้นกลุ่มสินค้าประเภทนี้ยิ่งครอบจักรวาลไปใหญ่เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้ของสองชิ้นขึ้นไปมายึดติดกันในรูปแบบต่างๆ

แน่นบ้าง หลวมบ้างตามแต่จะออกแบบเพื่อการใช้งาน

ข้อมุลพื้นฐานปลายเกลียว

รูปร่างของส่วนปลายอีกด้าน ก็จะมีลักษณะต่างๆ เช่น ปลายเกลียวปกติ ปลายเกลียวปล่อย และปลายสว่าน

เอาแค่สกรูอย่างเดียว ก็มีหลายประเภทแล้ว ดังนั้นเวลาจะเรียกจึงต้องระบุ รุปแบบ ประเภท ขนาด เกรด ให้ชัดเจน

ข้อมุลพื้นฐานหัวน็อต

ส่วนน็อต (Nut) จะหมายถึงน็อตตัวเมีย ซึ่งบางท่านจะเรียกว่าหัวน็อต ซึ้งมีลักษณะคล้ายแหวนมีรูตรงกลาง ภายในจะมีร่องเป็นเกลียว

เพื่อที่จะสามารถหมุนเข้ากับสกรูได้ หัวน็อตมีหลายประเภท เช่น หัวน้อตหกเหลี่ยม หัวน็อตติดจาน หัวน็อตกลม

เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดว่าน็อตเฉยๆ แล้วไม่ระบุอะไรเพิ่มเติมก็จะเป็นอันเข้าใจว่า ต้องการหัวน็อตหกเหลี่ยม แต่แท้จริงแล้ว หัวน็อตนั้น

มีรูปร่างหลากหลาย ซึ้งการใช้งานก็จะหลากหลายไปตามรูปแบบตามรูปร่างของมันด้วย เช่น หัวน็อตหกเหลี่ยม หัวน็อตติดจาน

หัวน็อตหางปลา หัวน็อตล็อค (ซึ้งยังแยกเป็นสปริง กับ ไนล่อนอีกนะ) และยังมีอีกหลายประเภท

ข้อมูลพื้นฐานสิ่งที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรุน็อต

- สิ่งสำคัญเบื้องต้นที่เราต้องรุ้ในการเลือกใช้งานสกรูน็อตดังนี้

วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้าเกรดต่างๆ สแตนเลสเกรดต่างๆ ทองเหลือง ไททาเนียม เป็นต้น เราต้องรู้ก่อนว่าคุณสมบัติของวัสดุที่เลือกมาใช้

เหมาะกับงานของเราหรือไม่ เพราะวัสดุแต่ละประเภทจะมีและความยืดหยุ่น ต่างกัน

- รูปร่างของส่วนหัว ซึ้งมีด้วยกันหลายประเภท เช่น หัวหกเหลี่ยม หัวจม หัวจมเตเปอร์ หัวแฉก หัวติดแหวน หัวกลม หรือ หัวผ่าร่อง

- รูปร่างของส่วนปลาย เช่น ปลายเกลียวปกติ ปลายเกลียวปล่อย และ ปลายสว่าน

- ขนาดความโต ความยาว และเกลียวที่ต้องการโดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นเกลียวมิล และ เกลียวหุน

- ขนาดหัวน็อต ประกอบด้วย ความโตระยะเกลียว

ข้อมูลมาตรฐานสิ่งที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรูน็อต

มาตรฐานสกรู และมาตรฐานหัวน็อตที่ใช้กันในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายมาตรฐานโดยอ้างอิงมาจากหลายประเทศ เช่น

มาตรฐาน ASTM และ ANSI จากอเมริกา JIS จากญี่ปุ่น DIN จากเยอรมัน ISO จากยุโรป AS/NZS จากออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์

และ มอก จากไทย ซึ้งเป็นงานที่มีรูปแบบชัดเจนจากวิศวะกรออกแบบ จะเป็นผู้คำนวณและระบุชนิด ขนาด ตลอดจนมาตรฐานของสกรูและน็อต

ที่ต้องการใช้กับงานนั้นๆไว้อย่างละเอียด เช่น งานโครงสร้างอาคาร งานประกอบสิ้นส่วนอุตสาหกรรมเป็นต้น

ข้อมูลพื้นฐานการวัดขนาดสกรูน็อต

การวัดขนาดสกรู-น็อต

เข้าใจว่าหลายท่าน อาจจะสับสนระหว่างการวัดขนาดของสกรูน็อตกับการหาอุปกรณ์มาขันน็อต การวัดค่าสกรูน็อต สิ่งที่ต้องคำนึงถึง

เป็นอย่างแรกก็คือเกลียว เพราะลำพังเกลียวเองก็มีหลายแบบ ออกแบบตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

ลักษณะของเกลียว มี 2 แบบคือ

1.เกลียวทรงกระบอก

2.เกลียวเรียว ลักษณะทรงกรวย

ขนาดรูเจาะนำ

สำหรับสกรูเกลียวปล่อย

A3
สำหรับชิ้นงานไม้
Screw Diametor :
#2
#4
#6
#8
#10
#12
Soft Woods :
1/32"
3/64"
1/16"
5/64"
3/32"
7/64"
Hard Woods :
3/64"
1/16"
5/64"
3/32"
7/64"
1/8"

สำหรับชิ้นเหล็ก
เหล็กแผ่น
เหล็ก / สแตนเลส / ทองเหลือง / อลูมิเนียม
SCRES
METAL THICKNESS
PIERCED OR EXTRUDED HOLE
DRILLED OR CLEAN-PUNCHED HOLE
#4
0.5
-
2.2
0.6
2.5
2.4
0.8
2.5
2.4
0.9
2.5
2.5
#6
0.5
-
2.64
0.6
2.8
2.64
0.8
2.8
2.64
0.9
2.8
2.64
#7
0.5
-
2.9
0.6
3.05
2.9
0.8
3.05
2.9
0.9
3.05
2.9
1.22
3.05
3.05
#8
0.5
-
3.2
0.6
3.45
3.2
0.8
3.45
3.2
0.9
3.45
3.2
1.22
3.45
3.3
#10
0.6
4.0
3.4
0.8
4.0
3.4
0.9
4.0
3.4
1.22
4.0
3.4
#12
0.6
4.7
4.1
0.8
4.7
4.1
0.9
4.7
4.1
1.22
4.7
4.1